พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

04 Apr 2020
พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

หลายคนน่าจะเคยได้ยิง “คาถาชินบัญชร” หรือ “พระคาถาชินบัญชร” ที่โด่งดัง มากๆ จะเป็น เวอร์ชั่น ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
โดย จะมีความเชื่อที่ว่า หากท่องจําได้ขึ้นใจ และ ภาวนาทุกคืน จะ มีความศักดิ์สิทธิ์ ถึงขนาดที่ คนที่สามารถ สวดภาวนาคาถานี้ได้ทุกคืน นั้นจะนำพาความเจรินรุ่งเรือง ไม่ป่วยไข้ ห่างไกลภัยอันตราย ต่างๆที่จะเข้ามา ทุกทิศ
โดยส่วนใหญ่แล้ว คาถานี้นั้น ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ที่เป็นวันครู และให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ แต่หากใครไม่สะดวก ให้เริ่มจากการสวดก่อนนอนในคืนวันพฤหัส แต่ให้เริ่มจากการตั้งนะโม 3 จบ เช่นกัน โดยหลังจากตั้งนะโมแล้ว ให้ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต

ตํานานพระคาถาชินบัญชร
ชินนบัญชร คือเกราะแก้วของพระชินเจ้า คาถาชินบัญชร นั้นคือการกล่าวอาราธนาพระพุทธเจ้า พระสาวก
และพระปริตต์ ให้มาดํารงอยู่ในกายเพื่อพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี เหมือนเกราะแก้วป้องกันภัย มี
หลักฐานปรากฏในประวัติศาสตร์พม่า คือเรื่องพุทธนวมวินิจฉัย ในวินยสมูหวินิจฉัย กล่าวว่า มีการแต่งขึ้นที่เมือง
เชียงใหม่ ในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในรัชกาลที่ ๒๐ ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๒๑-๒๑๕๐
เพราะในสมัยนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่นิยมบูชาดาวนพเคราะห์ พระเจ้าอโนรธา จึงปรึกษากับพระเถระในยุคนั้น
แล้วรับสั่งให้ชาวเมืองสวดพระคาถาชินบัญชรและคาถาอื่นๆ แทนการบูชาดาวนพเคราะห์ที่ไม่คล้อยตามคํา
สอนที่ในพระพุทธศาสนา ฉะนั้นแล้ว พระคาถาชินบัญชร จึงได้แต่งขึ้นโดยพระเถระชาวไทยที่เมืองเชียงใหม่ พระคาถานี้
ยังแพร่หลายถึงประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย พระคาถาชินบัญชรฉบับที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย คือ
ฉบับของวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
พระคาถาชินบัญชร โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

ตั้งนะโม ๓ จบ ก่อน
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเย กายญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตต๎วา.
อิติปิ โส ภควา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ.
หากเจริญภาวนาเป็นครั้งแรก ควรสวดภาวนาวันดี คือวันครู (วันพฤหัสบดี) เป็นวันปฐมฤกษ์
ตระเตรียมดอกบัวสีขาว ๙ ดอก ธูป ๙ ดอก และเทียนสีขาว ๒ เล่ม ควรใส่ชุดสาวจะทําให้จดจําอะไรได้ง่าย
และจะจําขึ้นใจโดยอัศจรรย์ เพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัย และดวงพระวิญญาณอันศักดิ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ
จากนั้น ก็เริ่มสวดตามลําดับดังนี้

(๑) ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
(๒) ตังหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
(๓) สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
(๔) หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง โมคคัลลาโน จ วามะเก
(๕) ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
(๖) เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
(๗) กุมารกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
(๘) ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
(๙) เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
(๑๐) ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
(๑๑) ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
(๑๒) ชินานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
(๑๓) อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
(๑๔) ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
(๑๕) อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินปัญชะเรติ.


คําแปล (๑) พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยา
มาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยะสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ เป็นผู้นําสรรพ
สัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
(๒) มี ๒๘ พระองค์ คือ พระนผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
(๓) ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
(๔) พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขาา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณ
ฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
(๕) พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
(๖) มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิณผุ้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่าง
ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
(๗) พระเถระกุมาระกัสสปะผุ้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจํา
(๘) พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏ
เกิดเป็นกระแจะคุณเจิมที่หน้าผาก
(๙)ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผุ้ทรงชัยแต่
ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดํารงอยู่ทั่อวัยวะน้อยใหญ่
(๑๐) พระรัตนสูตรอยุ่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย
พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง
(๑๑) พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภา
กาศ
(๑๒) อนึ่ง พระชินพุทธเจ้าทั้งหลาย นอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกําลังนานาชนิด
มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกําแพงคุ้มครอง ๗ ชั้น
(๑๓) ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทํากิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ใน
พระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในในอันเกิดแด่
โรคร้าย คือโรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกําจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
(๑๔) ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ําเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาพพื้น
ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
(๑๕) ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตราย
ใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้า จงได้ปฏิบัติและรักษาดําเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญฯ

อนึ่ง พระคาถาชินบัญชรของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ถ้าใคร่ท่องจําได้ขึ้นใจภาวนาทุกคืนวันมีคุณานุ
ภาพมากมาย มีความศักดิ์สิทธิ์และทรงอานุภาพทุกบท จะทําให้เกิดโชคลาภ เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ใช้เสกทํา
น้ํามนต์รดแก้สรรพทุกข์โศกโรคภัย ไม่ว่าจะถูกกระทําคุณไสย คุณผีคุณคนทั้งปวง ใช้ปลุกเสก พระเครื่องราง
ของขลังจะเพิ่มอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าท่องจําไม่ได้
หมด จะเลือกจําแต่ละบทก็ได้ สุดแต่เจตนาจะใช้ ดังนี้

๑. อาราธนาพระสมเด็จไปกับตัว ใช้ “บทที่ ๓ “
๒. สําหรับนักพูด นักแสดง ก่อนพูดก่อนแสดง “บทที่ ๗ “
๓. สําหรับเสกน้ําล้างหน้า เสกแป้งเจิม “บทที่ ๘ “
๔. ถ้าต้องการแคล้วคลาดปลอดอันตราย “บทที่ ๙ “
๕. สําหรับป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ “บทที่ ๑๓ “
๖. อาราธนาขอให้คุณพระคุ้มครอง “บทที่ ๑๔ “
(พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ถูกต้องตรงตามที่สมเด็จบอกโดยวิธีการเข้าทรงและถูกต้องตรงตาม
เจตนาของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร
พระคาถานี้ เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก สืบทอดมาจากลังกา โดยเจ้าประคุณสมเด็จ ฯค้นพบใน
คัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้สมบูรณ์ จึงทําให้เนื้อความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้ว มีแต่สิ่งที่เป็น
สิริมงคลแก่ผู้เจริญภาวนาทุกประการ
พระคาถานี้ เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระศาสดา และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้มา
ก่อนหน้านั้นแล้ว ทั้งได้อัญเชิญเอาพระสูตรต่างๆ ที่เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกัน
สอดคล้อง เป็นกําแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาลงมาจนล้อมรอบตัวจนกระทั่งหาช่อง
ให้อันตรายแทรกเข้ามามิได้ ผู้ได้สวดเป็นประจํา จะทําให้เกิดความเป็นสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่
กล้ํากราย ไปทางไหนย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสย์
ต่างๆ ทําน้ํามนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคภัยต่างๆ ให้หมดสิ้นไป เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพ
ตามที่ปรารถนา หากสวด ๑๐ จบ หรือทุกค่ําเช้า และอธิษฐาน จะสัมฤทธิ์ผลได้ดังที่ใจปรารถนาทุกประการ

พระคาถาชินบัญชร
ข้าฯ ขอเชิญเสด็จ พระสรรเพชญ พระพุทธองค์
นรา สภาทรง พิชิตมารและเสนา
ยี่สิบ แปดพระองค์ นายกสงฆ์ ทรงสมญา
ตัณหังกร เป็นต้นมา ทรงดื่มแล้ว ซึ่งรสธรรม
จตุสัจ อันประเสริฐ ทรงคุณเลิศ ดิลกล้ํา
ยอดบุญ พระคุณนํา ยิ่งเทพไท ไตรวิชา
โปรดรับ ประทับทรง ณ ที่ตรง กระหม่อมข้า
พระพุทธ ธเจ้าสา ธุประถม บังคมเชิญ
ขอให้ พระพุทธะ สัก๎ยะ พระจําเริญ
ประทับ บนเศียรเทอญ ปราชญ์สรรเสริญ พระบารมี
ขอให้ พระธรรมะ อริยะ วิสุทธิ์ศรี
ประทับ จักขุนทรีย์ ให้ข้ามี ปัญญาญาณ
ขอให้ พระสังฆะ วิสุทธะ คุณาจารย์
สถิต ประดิษฐาน อุระข้า อย่ารู้ทราม
แปดสิบ พระสาวก มนต์สาธก ผู้เรืองนาม
เรืองเดช ทุกโมงยาม ด้วยสีลา ธิคุณคง
สถิตทั่ว ทุกส่วนกาย ทั้งน้อยใหญ่ ประทับทรง
เป็นคุณ จําเริญมง คละเลิศ ประเสริฐศรี
ขอเชิญ พระปริตร อันศักดิ์สิทธิ์ ในแดนตรี
เมตตา และปรานี บริรักษ์ นิราศภัย
เบื้องหน้า รัตนสูตร ธรรมาวุธ อันเกรียงไกร
ทักษิณ อันฤาชัย เมตตสูตร พระพุทธมนต์
ปัจฉิม ธชัคคสูตร พุทธาวุธ วิเศษล้น
อุดร มหามนต์ อังคุลิมา ละสูตรเสริม
ขันธโม ระปริตร ดังจักรกฤช ประสิทธิ์เฉลิม
อาฏานา ฏิยสูตรเดิม พระขรรค์เพชร เผด็จมาร
เพดานกั้น มารอากาศ ให้ปลาส เกษมศานต์
อีกให้ เป็นปราการ กําแพงแก้ว กําจัดภัย
กําแพง แก้วเจ็ดชั้น ดํารงมั่น เดโชชัย
พระชินราช ประสาทให้ เป็นเกราะใหญ่ คุ้มครองตน
ด้วยเดช พระชินศรี เรืองฤทธี มากเหลือล้น
กําจัดภัย ทุกแห่งหน ทั้งวิบัติ อุบาทว์ไกล
ให้พระ อนุรุทธ บริสุทธิ์ อยู่หทัย
พระสา รีบุตรไพ โรจนัย ณ เบื้องขวา
เบื้องหลัง พระโกณฑัญ ญะสถิต จิตตสา
เบื้องซ้าย พระโมคคัลลา นะสถิต สถาพร
หูขวา พระอานนท์ ประชุนชม ประณมกร
พระราหุล อุดมพร สถิตร่วม จรัญญา
หูช้าย พระกัสสป นิราศภพ กิตติมา
คู่กับ พระมหา นามสถิต ประดิษฐาน
พระพุท ธะโสภิต ผู้เรืองฤทธิ์ อุดมญาณ
จอมมุนี วีระหาญ ไตรวิชา ประภากร
ดุจดวง พระอาทิตย์ แรงร้อยฤทธิ์ พ้นแสงศร
สถิตเกศ อุดมกร ปัจฉิมภาค พิบูลพรรณ
พระกุมา- ระกัสสป ผู้เจนจบ วจีสัณห์
บ่อบุญ คุณานันต์ สถิตโอษฐ์ อลังการ
ขอให้ พระปุณณะ เถระพระ อังคุลิมาล
พระอุ-บาลีศานต์ พระนันทะ พระสิวลี
บรรจบ เป็นเบญจะ พระเถระ ผู้เรืองศรี
สถิตอยู่ นลาฎมี เสน่ห์ดี ไมตรีมา
ทั้งภายนอก และภายใน เกิดเป็นภัย ไม่นําพา
เพียงลมร้าย พัดไปมา ไม่บีฑา อย่าอาวรณ์
เมื่อข้า สวดพระสูตร พระสัมพุท ธบัญชร
สูงสุด พุทธพร ในพื้นเม ธนีดล
กลางชิน นะบัญชร คุณากร กิตติพล
หวังใด ให้เป็นผล จากกุศล สาธยาย
ขอมวล มหาบุรุษ หน่อพระพุท ธฤาสาย
รักษา ข้าอย่าคลาย ตลอดกาล นิรันดร
อีกเวทมนตร์ คลคาถา ที่มวลข้า ประณมกร
เล่าเรียน เพียรว่าวอน อนุสรณ์ ตลอดมา
เป็นคุณ คุ้มครองดี อย่าให้มี ซึ่งโรคา
เป็นคุณ ช่วยรักษา สรรพภัย ไม่แผ้วพาน
อานุภาพ พระชินะ อุปัทวะ อย่ารู้หาญ
ห่างไกล ไม่ระราน ประสบงาน สวัสดี
อานุภาพ พระธรรมะ ให้ชํานะ ความอัปรีย์
ห่างไกล คนใจผี กาลกิณี ไม่กล้ํากราย
อานุภาพ พระสังฆะ ให้ชํานะ อันตราย
ไม่เห็น คนใจร้าย ไม่มั่นหมาย มาราวี
อานุภาพ พระสัทธรรม ทุกเช้าค่ํา รักษาศรี
จํารัส จําเริญดี ว่าพระศรี ชินบัญชร
พระพิมลธรรม (ชอน อนุจารีมหาเถร)

พระคาถาชินบัญชรย่อ
ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา
คําแปล ขอพระชินบัญชรปริตต์ จงคุ้มครองรักษาข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ

ที่มา pbs.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/03/0004_ตำนานพระคาถาชินบัญชร.pdf